สภาพทางเศรษฐกิจ
ขนาดการถือครองที่ดิน
ตำบลดงลานมีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรทั้งหมด 21,762 ไร่ โดยแยกเป็นพื้นที่ทำนา 4,364 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 09.87 , พืชไร่ 00,260 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.27 พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น 05 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 0.07 และอื่น ๆ ประมาณ 243 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.00 พื้นที่ป่าไม้ชุมชนและป่าสงวน จำนวน 6,079 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.68 ของพื้นที่ทั้งหมด
สิทธิในพื้นที่ทำกิน
สิทธิในพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรตำบลดงลานส่วนใหญ่เป็น สปก.4-01 , สค.1 , สทก. และพื้นที่ควบคุม ภาคการเกษตรแรงงานได้จากสมาชิกในครัวเรือนเป็นหลัก มีการจ้างแรงงานมาช่วยบ้างในครัวเรือนที่มีพื้นที่มาก ๆ และมีแรงงานไม่เพียงพอ สำหรับการทำนาในบางหมู่บ้านมีการแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างกัน ระหว่างสมาชิกในหมู่บ้าน ส่วนการทำไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง อ้อย มีการจ้างแรงงานภายในตำบลเป็นส่วนใหญ่ สำหรับอัตราค่าจ้างแรงงานในเขตท้องที่ตำบลดงลาน เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล และบางหมู่บ้านค่าจ้างแรงงานก็แตกต่างกัน โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรกรรม สาเหตุเนื่องมาจาก ความพอใจของผู้จ้างและผู้รับจ้างหากผู้รับจ้างขยันเอาใจใส่หรือปริมาณที่ทำมาก ค่าจ้างแรงงานก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเพราะ ในพื้นที่มีการแย่งแรงงานของผู้จ้างซึ่งค่าจ้างแรงงานพอแยกอัตราค่าจ้าง ได้ดังนี้
อัตราค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตร อัตราวันละ 200 – 300 บาทต่อคนต่อวัน
อัตราค่าจ้างแรงงานนอกภาคเกษตร อัตราวันละ 200 – 300 บาทต่อคนต่อวัน
รายได้ รายจ่ายของครัวเรือน
เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 78 % ประกอบอาชีพมากกว่าหนึ่งอย่าง กล่าวคือ ถ้ามีการทำนาจะมีการทำไร่เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างไปด้วย อย่างไรก็ตามเกษตรกรในหมู่บ้านมีการทำอาชีพเสริม เช่น หัตถกรรม จักสานเย็บจักรอุตสาหกรรมและทอพรมเช็ดเท้า เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการที่เกษตรกรมีรายได้ส่วนใหญ่เกษตรกรยังไม่รู้จักการออมหรือการเก็บเงิน มีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ยังยากจนซึ่งพอแยกเป็นรายได้ ดังนี้
รายได้ในภาคเกษตร
1 รายได้จากการทำนาประมาณปีละ 50,000 บาท ต่อครอบครัว
3 รายได้จากพืชไร่ประมาณปีละ 33,000 บาท ต่อครอบครัว
4 รายได้จากไม้ผลประมาณปีละ 28,000 บาท ต่อครอบครัว
5 รายได้จากพืชผักต่างๆ ประมาณปีละ 15,000 บาท ต่อครอบครัว
6 รายได้จากโคกระบือประมาณปีละ 18,000 บาท ต่อครอบครัว
7 รายได้จากสุกรประมาณปีละ 30,000 บาท ต่อครอบครัว
2 รายได้นอกภาคเกษตร
1 รายได้จากการรับจ้างทั่วไป ประมาณปีละ 000,000 - 300,000.- บาท ต่อครอบครัว
ผลผลิตเฉลี่ยราคาต้นทุนการผลิต
หากพิจารณาจากสภาพการผลิตพืช เมื่อคิดเป็นรายจ่ายแล้วนั้น อาชีพการเกษตรเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการลงทุนมาก ทั้งด้านแรงงาน และเงินลงทุน ซึ่งเกษตรกรเองต้องคำนึงถึงต้นทุนทางการเกษตรด้วย
การรวมกลุ่มเกษตรและเงินทุนของกลุ่ม การดำเนินการด้านสถาบันกลุ่ม
เกษตรกรมีกลุ่มต่าง ๆ ทั้งกลุ่มที่เป็นนิติบุคคล และกลุ่มธรรมชาติ หรือกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ที่เกิดขึ้นตามนโยบายของภาคราชการทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร และของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของกลุ่มที่เกิดจากนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้แก่
1 กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร มีสมาชิก 100 คน ตั้งอยู่ บ้านเขาสัพยา หมู่ที่ 00 ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
2 กลุ่มอาชีพทำพรมเช็ดเท้า มีสมาชิก 30 ราย ตั้งอยู่ที่อ่างทอง หมู่ที่ 0 ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
3 กลุ่มอาชีพไพหญ้า มีสมาชิก 40 ราย ตั้งอยู่ที่บ้านวังขอนแดง หมู่ที่ 3 , บ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่ 5 และบ้านซำขาม หมู่ที่ 8 ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
4 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำนวน 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอ่างทอง หมู่ที่ 1 บ้านอ่างทอง ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น สมาชิก 40 คน
-กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซำจำปา หมู่ที่ 2 บ้านซำจำปา ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น สมาชิก 28 คน
แหล่งสินเชื่อเพื่อการผลิต การประกอบอาชีพเกษตรกร แหล่งอาชีพเกษตรกร
แหล่งสินเชื่อที่เกษตรกรสามารถกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพ แยกเป็น ดังนี้
1 ภาคสถาบันการเงิน
1 ภาคสถาบันการเงิน แหล่งเงินทุนสำหรับกลุ่มเกษตรกร ดังนี้
2 สหกรณ์การเกษตรอำเภอสีชมพู
3 ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
2 ภาคเอกชน
1 นายทุนท้องถิ่น
2 เพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง
3 กองทุนท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น
3.1 เงินออมเฉลิมพระเกียรติ มีทุกหมู่บ้าน
3.2 กองทุนหมู่บ้าน
3.3 กองทุนจากหน่วยงานของภาครัฐ เช่น กองทุนอาหารหมู่บ้าน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กขคจ. กองทุนพัฒนาในเขตพื้นที่เฉพาะ อพป. และอื่น ๆ
3.4 กองทุนพัฒนาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล
ข้อมูลการตลาด วิถีการตลาด แหล่งรับซื้อผลผลิต
การซื้อขายผลิตผลทางการเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลดงลาน มีพ่อค้าภายในท้องถิ่น อำเภอต่างอำเภอมารับซื้อผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งพอจะแยกได้ดังนี้
1 การตลาดข้าวนาปี การผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลดงลาน ส่วนหนึ่งจะเป็นเพื่อการบริโภค
ในครัวเรือน และท้องถิ่น ส่วนที่จำหน่ายมีพ่อค้าท้องถิ่นมารับซื้อถึงที่แต่ก็เป็นปริมาณน้อยอีกส่วนหนึ่งเกษตรกรจะนำไปจำหน่ายที่โรงสีเอง เช่น โรงสีในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
2 พืชไร่ต่างๆ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง นั้นเกษตรกรจะนำไปสีนวดพร้อมจำหน่ายให้กับพ่อค้าในเขตอำเภอชุมแพ ส่วนถั่วต่าง ๆ นั้นมีพ่อค้ามารับซื้อถึงไร่นา หรือยุ้งฉางของเกษตรกร
กองทุนหมู่บ้าน
กองทุนหมู่บ้าน เป็นนโยบายที่ทางรัฐบาลมองเห็นปัญหาของประชาชนในระดับท้องถิ่น และเป็นการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านเงินทุน ในการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานสู่ภาคอุตสาหกรรม หรือการรับจ้างในต่างจังหวัด โดยให้มีเงินกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้านในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 15 คน ชายและหญิงจำนวนใกล้เคียงกัน โดยให้คนในชุมชนนั้นๆ เป็นผู้คัดเลือกจากบุคคลผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์คนในชุมชนให้ความไว้วางใจและเชื่อถือ ให้เป็นผู้บริหารจัดการเงินกองทุนและคณะกรรมการร่วมกันร่างข้อบังคับเพื่อใช้สำหรับบริหารเงินกองทุนในแต่ละชุมชนผลการดำเนินการพบว่า ระบบการบริหารเงินกองทุนกรรมการบางคนยังไม่ค่อยเข้าใจบทบาทของตนเอง ทั้งเรื่องของการจัดทำบัญชีเนื่องจากคณะกรรมการไม่ค่อยมีการประชุมหรือปรึกษาหารือกัน การพิจารณาเงินกู้ของสมาชิก สมาชิกไม่นำเงินไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในคำขอกู้ เมื่อครบกำหนดสมาชิกไม่นำเงินมาใช้หนี้ตามกำหนดไว้ คณะกรรมการไม่ได้พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการขอกู้ของสมาชิก หากแต่พิจารณาจากความสามารถในการส่งคืนเงินกู้ของสมาชิกเป็นเกณฑ์